The Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) เป็นชุดเกณฑ์มาตรตฐานระดับสูงสำหรับนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ และให้ผลตอบแทน และคุณค่าระยะยาวสำหรับผู้ถือหุ้น อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสะท้อนความเขื่อด้านความยั่งยืนผ่านภาพรวมการลงทุน ชุดเกณฑ์มาตรฐานนี้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2542 โดยมีฐานะเป็นเกณฑ์มาตรฐานด้านความยั่งยืนแรกในระดับสากล และถูกใช้เพื่อติดตามความเป็นไปของหุ้นบริษัทชั้นนำของโลกในแง่ของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ผ่านความร่วมมือระหว่าง S&P Dow Jones Indices และ Robeco Sustainable Asset Management (SAM) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการลงทุนอย่างยั่งยืนมาสร้างดัชนีชี้วัดเพื่อคัดเลือกบริษัททั่วโลกที่มีความยั่งยืนที่สุดจากทั้งหมด 61 อุตสาหกรรม โดย DJSI มีกระบวนการคัดเลือกบริษัทต่างๆ ด้วยระบบฐานกฏ (rule-based) และประเมินจากผลคะแนนความยั่งยืนรวมประจำปีของ S&P Global Corporate Sustainability Assessment (CSA) มีเพียงบริษัทที่ได้อันดับสูงสุดในแต่ละอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในวงศ์ดัชนี Dow Jones Sustainability และไม่มีการแยก หรือยกเว้นอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งดังที่แสดงในรูปภาพที่ 1

* Global Indices: Top 10%, Regional Indices: Top 20%, Country Indices: Top 30%

รูปภาพที่ 1

ส่วนประกอบต่างๆ ในรายงานที่จะเสนอต่อ DJSI จะได้รับการตรวจสอบในเดือนกันยายนของทุกปี เนื่องจากต้องรอผลการประเมินของ SAM และ CSA อีกทั้งมีการปรับสมดุลของบริษัทที่อยู่ใน DJSI ในทุกไตรมาส (S&P Global, 1, 2023) หากแต่ในช่วง 20 ปีหลังนี้ CSA กลายมาเป็นพื้นฐานสำหรับดัชนีมากมาย โดยในปี 2562 S&P Global ได้เข้าถือสิทธิ์ใน CSA อย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการประเมินต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ ESG  และข้อสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐาน ESG และดำเนินการโดย S&P Global สวิตเซอร์แลนด์ The Corporate Sustainability Assessment (CSA) ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญพิเศษ ระเบียบวิธีที่เหมาะสม และฐานข้อมูลสำคัญผ่านดัชนีความยั่งยืนที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก (S&P Global, 2, 2023) และเนื่องจากมีจำนวนบริษัทที่เข้ามามีส่วนร่วมใน CSA มากขึ้นทุกปีส่งผลให้การประเมินสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลาผ่านการถามบริษัทที่มีส่วนร่วมเหล่านั้น ผลที่ได้คือประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนถูกรวมเข้าด้วยกันกับประเด็นความยั่งยืนที่อุบัติใหม่อย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการวิวัฒนาการต่อเนื่องของ CSA ก็ว่าได้ (S&P Global, 3, 2023).

            ต่อมาในปี 2562S&P DJI เริ่มสนับสนุน และผลักดันข้อมูลด้านความยั่งยืนของ SAM มากขึ้นเพื่อขยายขอบเขตของดัชนี ESG วงศ์ดัชนี ESG ของ S&P เป็นชุดดัชนีต่างๆ ที่นำเสนอการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทต่างๆ ภายใต้บริบทของดัชนีในแต่ละประเทศอย่างเฉพาะเจาะจง และดัชนีระดับภูมิภาคต่อนักลงทุน วงศ์ดัชนีต่างๆ มีพื้นฐานมาจากคะแนน ESG ของ S&P DJI และผลลัพธ์รายปีของการประเมิน S&P Global Corporate Sustainability Assessment (CSA) วงศ์ดัชนีนี้ครอบคลุมดัชนีในตลาดที่กว้างมากอาทิ  S&P 500 ESG, S&P Europe 350 ESG, S&P Global 1200 ESG, and S&P Japan 500 ESG และถูกออกแบบให้มีความใกล้เคียงกับแนวทางของดัชนีหลักต่างๆ ที่มีความเสี่ยง และผลตอบแทนที่เหมือนกัน รวมถึงเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการติดตามข้อมูลอีกด้วย เกณฑ์กำหนดหลักต่างๆ สำหรับองค์ประกอบของคุณสมบัติ และการคัดเลือกของวงศ์ดัชนี S&P ESG คือคะแนน S&P DJI ESG ซึ่งคะแนนเหล่านี้ประกอบไปด้วยผลรวมระดับคะแนนด้าน ESG ของบริษัทในรอบปีปฏิทินทางการเงิน ประกอบด้วยการให้คะแนนแต่ละบริษัทในมิติด้านสิ่งแวดล้อม (E) สังคม (S) และ เศรษฐกิจ และการกำกับดูแลกิจการ (G) โดยการให้ค่าน้ำหนักคะแนนในแต่ละข้อกำหนดเป็นไปเพื่อขจัดอคติ หรือความเอนเอียงระหว่างอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน และระหว่างบริษัทที่ได้รับการประเมินจาก CSA แล้วกับบริษัทที่ได้รับการประเมินจากข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ อย่างเปิดเผย ระเบียบวิธีของวงศ์ดัชนี S&P ESG Index คือการสร้างกระบวนการคัดเลือกที่ง่าย และยังคงรักษาค่าน้ำหนักตามดัชนีตลาดรวมของ S&P ระเบียบวิธีการจัดกลุ่มดัชนีส่งผลให้เกิดการพัฒนาการให้คะแนน ESG ที่ประกอบขึ้นจากหลายส่วน และสามารถนำเสนอแนวทางการดำเนินการด้าน ESG ที่ถูกพัฒนาสำหรับแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ด้วย (S&P Global, 4, 2023) รูปภาพที่ 2 แสดงถึงการให้คะแนนของดัชนี CSA และ ESG และรูปภาพที่ 3 แสดงถึงตัวอย่างหน้าตาของดัชนี ESG ต่างๆ (S&P Global, 5, 2023)

รูปภาพที่ 2

รูปภาพที่ 3

ระเบียบวิธีการประเมิน CSA

The Corporate Sustainability Assessment (CSA) จะตั้งคำถามกับบริษัทที่ได้รับเชิญเกี่ยวกับวิธีการ และพื้นฐานของเหตุผลในการรายงาน เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลจากบริษัทที่ได้รับเชิญ และนำมาคำนวนคะแนน S&P Global ESG ซึ่งเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) CSA จะมีแนวทางให้เรียกว่า CSA Handbook เพื่อใช้เป็นรายการตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ สำหรับบริษัทที่ได้รับเชิญ โดยเอกสารชุดนี้ครอบคลุมคำถามทั้งหมด และนำเสนอประเด็นที่ต้องเน้นย้ำในการประเมิน เหตุผลของคำถาม รายละเอียดต่างๆ ของโครงสร้างคำถาม และคำแนะนำแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับคำตอบ นอกเหนือจากนั้นในหมวดของข้อแนะนำคำถามเฉพาะ และหมวดของการให้ความหมายต่างๆ จะอธิบายถึงข้อกำหนดในการนำเสนอราบละเอียดในการตีความ และตอบคำถามในแต่ละข้อ พร้แมทั้งนำเสนอหัวข้อเฉพาะเจาะจงที่สอดคล้องกับ GRI หรือมาตรฐาน และกรอบการรายงานอี่นๆ (ใช้ GRI เป็นหลัก) โดยบริษัทที่ได้รับเชิญจำเป็นต้องตอบคำถามไม่ว่าคำตอบนั้นจะเป็นข้อมูลภายใน หรือข้อมูลสาธารณะก็ตาม และถึงแม้ว่า CSA จะเป็นการประเมินแบบองค์รวม แต่โครงสร้าง และน้ำหนักการประเมินจะแตกต่างกันในแต่ละเกณฑ์ตาม ซึ่งขึ้นอยู่กับสาระสำคัญทางการเงินของอุตสาหกรรมที่กำหนด CSA ได้มีการแจ้งค่าน้ำหนักสำหรับลักษณะการประเมินที่แตกต่างกันไว้ในหมวด CSA Methodology เพื่อช่วยบริษัทต่างๆในการเตรียมความพร้อม เอกสารชุดนี้ยังนำเสนอคำแนะนำทั่ว ความคาดหวัง และเคล็ดลับบางประการที่สามารถนำไปใช้ในการประเมิน CSA ให้สำเร็จ โดยในแต่ละคำถามจะประกอบไปด้วยคำถามย่อยมากมาย และในแต่ละคำถาม บริษัทที่ได้รับเชิญจะสามารถเลือกตอบได้มากกว่าหนึ่งคำตอบ และในแต่ละคำถามยังประกอบไปด้วยตัวเลือกชุดคำตอบมาตรฐานหลายแบบที่ช่วยให้บริษัทที่ได้รับเชิญสามารถตอบคำถามได้แม้ว่าบริษัทไม่มีข้อมูล หรือบางคำถามไม่สามารถเชื่อมโยงกับบริษัทได้ อีกทั้งในแต่ละคำถามจะมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสิ่งที่ CSAให้ความสนใจในคำถามนั้นๆ ดังแสดงในรูปภาพที่ 4 (S&P Global, 6, 2023)

รูปภาพที่ 4

บริษัทที่ได้รับเชิญ

ปัจจุบันมีบริษัทที่เห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินกิจการอย่างยั่งยืนในตลาดทุนผ่านการมีส่วนร่วมกับ Corporate Sustainability Assessment (CSA) มากขึ้นทุกปี โดยในปี 2566 มีบริษัททั้งหมด 13,800 บริษัทที่ได้รับเชิญจาก CSA จากทั้งหมดนั้น 3,519 บริษัทได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ Dow Jones Sustainability Index (DJSI) จากบันทึกของกลุ่มบริษัทที่มีส่วนร่วมกับ DJSI อย่างจริงจังมีจำนวน 1,728 บริษัท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9% และจากบริษัทที่ได้รับเชิญทั้งหมดมี 2,480 บริษัทที่ยื่นข้อมูลครบถ้วนแล้ว คิดเป็น 48% ในตลาดทุนทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลขที่สัมพันธ์กับ S&P Global Broad Market Index (BMI) ที่เพิ่มขึ้นเป็น 45% ในปี 2564 โดยการประเมินจะสิ้นสุดลงสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเลือกระดับการประเมินตามที่ S&P Global กำหนดสำหรับการยื่นข้อมูลที่เป็นส่วนเสริมในรายงานประจำปีของบริษัทต่อ CSA ได้ และบริษัทที่เข้าร่วมการประเมินส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของ S&P Global ในการสื่อสารข้อมูลของบริษัทสู่ผู้รับสารในตลาดทุนที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการแจ้งข้อมูลการขยายตัวของจำนวนนักลงทุนที่ให้ความสนใน ESG และการดำเนินกิจการอย่างยั่งยืน บริษัทต่างๆ จะได้รับเชิญจาก 3 กลุ่ม โดยต้องเริ่มจากการได้รับการคัดเลือกเข้าอยู่ใน Dow Jones Sustainability Index (DJSI) ในดัชนีใดก็ได้ จากนั้นจะมีการคัดเลือกจากปัจจัยดังนี้:

ทั้งนี้บริษัทที่ได้รับเชิญมีสิทธิ์ที่จะไม่เข้าร่วมการประเมิน หรืออาจประเมินเฉพาะ S&P Global โดยใช้ข้อมูลสาธารณะทั่วไปที่มีก่อนได้ แล้วจึงค่อยยื่นผลคะแนน ESG ผ่านแพลตฟอร์มของ S&P Global ภายหลัง อีกทั้งการมีส่วนร่วมใน CSA ไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเป็นต้องมีสำหรับการได้รับสิทธิ์เข้าไปอยู่ DJSI หรือ S&P ESG Indices อื่นๆ คำเชิญอย่างเป็นทางการจะถูกส่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนของทุกปี หรือบริษัทต่างๆ สามารถตรวจสอบสถานะการเชิญได้ผ่านช่องทางออนไลน์ได้                 ปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทที่อยู่ใน DJSI อยู่ 26 บริษัท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ประกอบไปด้วย ADVANC, AOT, BANPU, BDMS, BJC, BTS, CPALL, CPF, CPN, CRC, DELTA, EGCO, GPSC, HMPRO, IRPC, IVL, KBANK, MINT, PTT, PTTGC, SCB, SCC, SCGP, TOP, TRUE and TU และในจำนวนนี้มี 11 บริษัทที่อยู่ในระดับศักยภาพสูงระดับสากล และบรรลุ ESG Index Family เรียบร้อยแล้ว (SET, 2022).

การเข้าร่วมโดยไม่ได้รับเชิญ

บริษัทใดก็ตามที่มีความสนใจในการทำ CSA สามารถขอรับการประเมิน และขอรับคะแนน ESG กับทาง S&P Global แพลตฟอร์มได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยติดต่อ [email protected] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ในปี 2566 CSA เริ่มเปิดให้ตอบแบบสอบถามได้ในวันที่ 4 เมษายน โดยบริษัทต่างๆ สามารถเลือกช่วงการประเมินให้เหมาะสมกับช่วงเวลาการรายงานได้ และจองที่ว่างได้ผ่านช่องทาง CSA Portal (S&P Global, 7, 2023).

แหล่งอ้างอิง
  1. S&P Global, 1 (2023) DJSI Index Family. [online] New York: S&P Global. Available from: https://www.spglobal.com/esg/performance/indices/djsi-index-family#objective [Access 27 July 2023].
  2. S&P Global, 2 (2023) Sustainability & Climate Indices. [online] New York: S&P Global. Available from: https://www.spglobal.com/esg/solutions/indices [Access 30 July 2023].
  3. S&P Global, 3 (2023) The S&P Global Corporate Sustainability Assessment. [online] New York: S&P Global. Available from: https://www.spglobal.com/esg/csa/about/ [Access 27 July 2023].
  4. S&P Global, 4 (2023) S&P ESG Index Family. [online] New York: S&P Global. Available from: https://www.spglobal.com/esg/performance/indices/esg-index-family [Access 28 July 2023].
  5. [online] New York: S&P Global. Available from: https://www.spglobal.com/spdji/en/index-family/esg/core-esg/#overview [Access 28 July 2023].
  6. S&P Global, 6 (2023) CSA Methodology. [online] New York: S&P Global. Available from: https://www.spglobal.com/esg/csa/methodology/ [Access 28 July 2023].
  7. S&P Global, 7 (2023) Invited Companies. [online] New York: S&P Global. Available from: https://www.spglobal.com/esg/csa/invited-companies [Access 28 July 2023].
  8. SET (2022) บจ. ไทยครองแชมป์เข้าดัชนี DJSI สูงสุดในอาเซียนต่อเนื่องเป็นปีที่ 9. [online] Bangkok: SET (Stock Exchange of Thailand). Available from: https://www.set.or.th/th/about/setsource/news-release/article/137-djsi [Access 28 July 2023].
© 2024 PRE Sustainable Consultancy. All Rights Reserved
Web Design by CARE Digital
crossmenu
en_USEN